RESOURCES
งานวิจัยระดับนานาชาติรองรับโซเดียมไฮโปคลอไรต์
และกรดไฮโปคลอรัสในการฆ่าเชื้อแบบอเนกประสงค์
ฆ่าเชื้อ Covid-19
การใช้ไฮโปคลอไรต์เป็นยาฆ่าเชื้อในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในอินเดีย: มุมมองด้านสุขภาพของมนุษย์และเคมีในชั้นบรรยากาศ (กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัว, 2020)
กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัว ประเทศอินเดีย แนะนำการฆ่าเชื้อด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 5-10% ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในอินเดีย
การฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าในห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา (มหาวิทยาลัยอิสลามาบาฮาวัลปูร์ ประเทศปากีสถาน, 2020)
ผลการทดสอบการฆ่าเชื้อจากมหาวิทยาลัยอิสลามาบาฮาวัลปูร์ ประเทศปากีสถาน สำหรับการทดสอบการฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 0.1% สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ภายในระยะเวลา 1 นาที
การคงอยู่ของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ปนเปื้อนบนพื้นผิวและการยับยั้งด้วยสารฆ่าเชื้อรา (วารสารสมาคมโรคติดเชื้อทางการแพทย์, 2020)
วารสารสมาคมโรคติดเชื้อทางการแพทย์ ได้รวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโควิด-19 จำนวน 22 ชิ้น พบว่า โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 0.1% สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ภายใน 1 นาที
นโยบายในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสิ่งแวดล้อมในบริบทของโควิด-19 (กระทรวงสาธารณสุขและบริการการแพทย์ ประเทศฟีจี)
นโยบายในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสิ่งแวดล้อมในบริบทของโควิด-19 โดย กระทรวงสาธารณสุขและบริการการแพทย์ ประเทศฟีจี แนะนำให้ใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 0.1% (1,000 ppm) เป็นประจำ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สถานกักตัว และการทำ Home Isolation อย่างมีประสิทธิภาพ
การฆ่าเชื้อตามสภาพแวดล้อมในสถานพยาบาลและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ SARS-CoV-2 (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ)
รายงานจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ ระบุว่า โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 0.1% สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 และทำความสะอาดห้องส้วม อ่างล้างหน้า และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเป็นการทำความสะอาดพื้นผิวในสถานพยาบาลควรใช้ที่ความเข้มข้น 0.5% เพื่อป้องกันการระคายเคือง
รายชื่อน้ำยาฆ่าเชื้อในครัวเรือนและผลิตภัณฑ์ที่สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้เอง (สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์)
สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ ระบุโซเดียมไฮโปคลอไรต์ในรายชื่อน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือนและผลิตภัณฑ์ที่สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยความเข้มข้น 0.05-0.5% สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้ภายใน 5 นาที
การใช้กรดไฮโปคลอรัสและห้องสุขาภิบาลสำเร็จรูปเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคโควิด19 (วารสารทางการแพทย์โดฟ)
วารสารทางการแพทย์โดฟ เกี่ยวกับการใช้กรดไฮโปคลอรัสและห้องสุขาภิบาลสำเร็จรูปเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระบุว่า กรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ที่มีที่ pH 3.5-5.5 เป็นสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้ในห้องฆ่าเชื้อ และยังได้รับการอนุมัติจากสมาคมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาในการฆ่าเชื้อ SARS-CoV-2
ฆ่าเชื้อบนพื้นผิววัสดุ ห้องครัว / ห้องน้ำ / ของใช้ภายในบ้าน
โควิด-19 - การฆ่าเชื้อด้วยใช้สารประกอบคลอรีน (ศูนย์วิจัยความปลอดภัยด้านวัตถุดิบแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา)
บทความจากศูนย์วิจัยความปลอดภัยด้านวัตถุดิบแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยใช้สารประกอบคลอรีน ระบุว่า โซเดียมไฮโปคลอไรต์ถูกแนะนำให้ใช้ในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโดยต้องมีการเจือจางก่อนใช้ตามสัดส่วนของความเข้มข้นของน้ำยา และพื้นที่ที่ต้องการทำความสะอาด
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพน้ำยาฆ่าเชื้อที่สถานพักคนชราในประเทศอังกฤษ (วารสารการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประเทศอังกฤษ)
งานวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพน้ำยาฆ่าเชื้อที่สถานพักคนชราที่ใช้ในปัจจุบันกับไฮโปคลอรัส ตีพิมพ์ในวารสารการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประเทศอังกฤษ พบว่าไฮโปคลอรัสสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าแอมโมเนียมที่ใช้อยู่ จึงแนะนำให้ใช้ไฮโปคลอรัสเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อตามพื้นผิวต่าง ๆ ในบ้านพักคนชรา
ฆ่าเชื้อทำความสะอาดของใช้ และของเล่นสำหรับเด็ก
สารประกอบคลอรีนที่ความเข้มข้น 5.25 - 6.00% (ที่ปรึกษาด้านสุขภาพในการดูแลเด็ก รัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา)
ที่ปรึกษาด้านสุขภาพในการดูแลเด็ก รัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำความเข้มข้นของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์และพื้นผิวต่าง ๆ สำหรับเด็ก โดยอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับปากของเด็กจะอยู่ที่ 100 ppm ส่วนพื้นผิวอื่น ๆ ใช้ที่ความเข้มข้น 600 ppm
นโยบายการดำเนินการดูแลเด็กภายใต้การควบคุมของโรคระบาดโควิด-19 (รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา)
หน่วยงานกลางแห่งรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ระบุในนโยบายการดูแลเด็กในสถานการณ์โควิด-19 ว่าสามารถใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ในการฆ่าเชื้อทำความสะอาดของใช้ และของเล่นสำหรับเด็ก โดยเจือจางให้อยู่ในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสม
เคล็ดลับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโควิด-19 ที่ของเล่นสำหรับเด็ก
(ศูนย์การแพทย์ตะวันตกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา)
บทความเคล็ดลับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโควิด-19 ที่ของเล่นสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเท็กซัส แนะนำให้แช่ของเล่นสำหรับเด็กในโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นที่เหมาะสม เป็นเวลา 5 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ฆ่าเชื้อสำหรับการทำความสะอาดเสื้อผ้า
แนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่สถานที่กักตัวในสถาณการณ์โควิด-19(ศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศอินเดีย)
แนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่สถานที่กักตัวในสถานการณ์โควิด-19 โดยศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศอินเดีย ระบุว่าโซเดียมไฮโปคลอไรต์ถูกแนะนำให้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ COVID-19 สำหรับหลากหลายพื้นผิว รวมถึงเสื้อผ้า และเครื่องนอน
เชื้อไวรัสกับสารประกอบคลอรีนที่ใช้ในครัวเรือนและวิธีการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์อย่างถูกวิธีิ (องค์กรสังคมอเมริกันสำหรับจุลชีววิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา)
งานวิจัยจากองค์กรสังคมอเมริกันสำหรับจุลชีววิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์สามารถลดจำนวนไวรัสที่ติดอยู่บนตัวอย่างผ้าคอตตอนได้อย่างน้อย 99.99% หลังจากขั้นตอนการทำความสะอาดและทำให้แห้ง เปรียบเทียบกับการใช้น้ำยาซักผ้าอย่างเดียวไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังเสื้อผ้าที่ไม่ติดเชื้อได้ด้วย
ประสิทธิภาพของน้ำอโนไลต์ที่เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphylococcus aureus (วารสารผู้บริโภคศาสตร์)
วารสารผู้บริโภคศาสตร์ ระบุว่า น้ำอโนไลต์ (ไฮโปคลอรัส) เป็นทางเลือกในการฆ่าเชื้อโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทดสอบกับผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์แล้ว พบว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรียหลังการใช้ไฮโปคลอรัสฆ่าเชื้อแล้ว พิสูจน์ได้ว่าไฮโปคลอรัสเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบกับน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดอื่น
ฆ่าเชื้อทำความสะอาดแผล / ลดการอักเสบ / ป้องกันการติดเชื้อ
น้ำยาฆ่าเชื้อโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา)
โซเดียมไฮโปคลอไรต์สำหรับใช้เฉพาะที่ ถูกใช้ในการรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากบาดแผลหรือรอยถลอก แผลที่ผิวหนัง แผลกดทับ แผลที่เท้าจากเบาหวาน หรือการผ่าตัดได้ โดยการราดบนบาดแผล หรือนำผ้าก๊อซชุบโซเดียมไฮโปคลอไรต์แล้ววางไว้บนบาดแผล ตามเวลาที่ระบุไว้ที่ฉลากของผลิตภัณฑ์
การทำความสะอาดบาดแผลที่ใช้ไฮโปคลอรัสบริสุทธิ์ (ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา)
การมีอยู่ตามธรรมชาติของไฮโปคลอรัสในเซลล์ของร่างกายเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบาดแผลที่ใช้ไฮโปคลอรัสบริสุทธิ์ ที่มีระดับกรดที่เหมาะสม ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผลได้อย่างเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นพิษ
การปรับการรักษาบาดแผลของผิวหนังที่ติดเชื้อ Staphylococcus Epidermidis และรักษาด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 4%
(วารสารเภสัชชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพโลก)
วารสารเภสัชชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพโลก ระบุว่า การใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ 4% รักษาบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และอาจเป็นวิธีการใหม่สำหรับการรักษาแผลติดเชื้อ
การป้องกันและรักษาแผลติดเชื้อ (เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ทางการแพทย์ New Zealand Doctor Rata Aotearoa ประเทศนิวซีแลนด์)
เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ทางการแพทย์ New Zealand Doctor Rata Aotearoa ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเข้มข้นของใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์สำหรับใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่บาดแผลหรือผิวหนัง โดยผสมโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 2.15% ปริมาณ 1 มล. กับน้ำ 500 มล.
ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ในการทำอาหาร / วัตถุดิบอาหาร (ผัก และ ผลไม้)
องค์ประกอบพื้นฐานในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในกระบวนการจัดการและแปรรูปอาหาร (วารสารวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา)
น้ำยาฆ่าเชื้อที่เป็นสารประกอบคลอรีนในรูปแบบของไฮโปคลอรัสจะออกฤทธิ์ได้มากที่สุด โดยสามารถใช้ที่ความเข้มข้นสูงสุด 200 ppm โดยไม่ต้องล้างน้ำซ้ำ
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสำหรับวัตถุดิบอาหารและพื้นผิวของภาชนะที่สัมผัสกับอาหาร (มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา)
บทความเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อที่วัตถุดิบอาหาร อ้างถึง อย. ของสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้โซเดียม ไฮโปคลอไรต์เป็นสารฆ่าเชื้อสำหรับอาหารและอุปกรณ์ที่พื้นผิวที่สัมผัสอาหารด้วยความเข้มข้นสูงสุด 200 ppm โดยไม่ต้องล้างออก
บทวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้น้ำออกซิไดส์ด้วยไฟฟ้าเป็นสารฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (วารสารวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี ประเทศออสเตรเลีย)
บทวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้น้ำออกซิไดส์ด้วยไฟฟ้าเป็นสารฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จากวารสารวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี ระบุว่า การผลิตน้ำออกซิไดส์ (ไฮโปคลอรัส) จะมีศักยภาพในการฆ่าเชื้อโรค ช่วยลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหารแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหารด้วยสารประกอบคลอรีนในร้านอาหารและสถาบันต่าง ๆ (สภาพัฒนาคุณภาพน้ำและสุขภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา)
คำแนะนำสำหรับการฆ่าเชื้อที่พื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร เช่น เครื่องใช้ภายในครัว จาน ช้อน-ส้อม ด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ 200 ppm คือ หลังจากขั้นตอนการล้างอุปกรณ์เหล่านี้ ให้ใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ฆ่าเชื้อเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนทำให้แห้ง จะทำให้การฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพ
ฆ่าเชื้อทำความสะอาดผิวสัตว์เลี้ยง / ที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง
คำแนะนำในการฆ่าเชื้อสำหรับธุรกิจสัตว์เลี้ยง (ศูนย์ความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา)
น้ำยาฆ่าเชื้อ โซเดียมไฮโปคลอไรต์เป็นหนึ่งในน้ำยาฆ่าเชื้อที่แนะนำให้ใช้สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยสามารถใช้ฆ่าเชื้อได้หลากหลายพื้นผิว เช่น ภาชนะใส่อาหารของสัตว์เลี้ยง ของเล่น อุปกรณ์ตัดแต่งขนสัตว์ คอกและกรงของสัตว์เลี้ยง ห้อง และอุปกรณ์ตกแต่งห้องของสัตว์เลี้ยง ด้วยความเข้มข้นที่เหมาะสม
การทดลองฉีดพ่นกรดไฮโปคลอรัสที่มีความเข้นข้นต่ำบนพื้นผิวต่าง ๆ เพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (มหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น)
ไฮโปคลอรัสเป็นตัวเลือกที่ดีในการฆ่าเชื้อเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของสัตว์ปีก โดยสามารถนำมาฉีดพ่นบนพื้นผิวของเปลือกไข่ ตู้ฟักไข่ กรงขนส่ง ลดโอการในการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของไวรัสได้
การเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำอิเล็กโทรไลต์ในการฉีดพ่นฆ่าเชื้อที่กรงของสัตว์เลี้ยง (วารสารนานาชาติวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ประเทศจีน)
บทความจากวารสารนานาชาติวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโดยใช้ไฮโปคลอรัสในการฉีดพ่นฆ่าเชื้อที่กรงของสัตว์เลี้ยง แนะนำให้ใช้ไฮโปคลอรัสในการฉีดพ่นฆ่าเชื้อที่กรงของสัตว์เลี้ยงด้วยสเปรย์ที่มีละอองขนาดกลาง 60-90 ไมครอน
ทำความสะอาดแปรงสีฟัน / ฟันปลอม
การสำรวจการใช้ การเก็บรักษา และการขนส่งโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (วิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิงซาอุด ประเทศซาอุดิอารเบีย)
การสำรวจการใช้ การเก็บรักษา และการขนส่งโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ในวิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิงซาอุด ระบุว่าโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 2.5%-5% เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับใช้ในงานทันตกรรม
บทวิจารณ์การใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ในการรักษารากฟัน การจัดการภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น (วารสารทันตกรรม ประเทศอังกฤษ)
วารสารทันตกรรม ประเทศอังกฤษ ระบุว่า โซเดียมไฮโปคลอไรต์ยังคงเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการรักษารากฟันเนื่องจากคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อและละลายเนื้อเยื่อซึ่งจำเป็นสำหรับฟันที่ไม่ผ่านการเติมรากฟันมาก่อน
ฆ่าเชื้อในน้ำเสีย
การทบทวนการตรวจหา RNA ของเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียเพื่อหากระบวนการกำจัดเศษของเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำเสีย (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประเทศไทย 2021)
วิธีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยขึ้นอยู่กับชนิดและบริมาณของน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงระยะเวลาที่สัมผัสพื้นผิวที่ต้องการฆ่าเชื้อ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์มักถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการฆ่าเชื้อในน้ำเสียด้วยความเข้มเข้น 5.25% -6.15%
การประเมินประสิทธิผลของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับกระบวนการในส่วนที่เปียกของการผลิตสิ่งทอ (วารสารวิจัยนานาชาติด้านวิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม และการออกแบบ ประเทศอินเดีย, 2013)
น้ำรีไซเคิลที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงงานนำร่อง ถูกฆ่าเชื้อโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ที่อัตราส่วน 22 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
การฆ่าเชื้อในน้ำเสียด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์: สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้กับโรงงาน Slottshagen ได้อย่างไร (มหาวิทยาลัยลินเชอปิง สาขาฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ประเทศสวีเดน, 2021)
กระบวนการฆ่าเชื้อนั้นขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากน้ำยาฆ่าเชื้อไฮโปคลอรัสซึ่งมีคุณสมบัติความเป็นกรดอ่อน มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อมากกว่าไฮโปคลอไรต์ โดยไฮโปคลอรัสมักมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 3-6
ฆ่าเชื้อในปศุสัตว์ กับสิ่งแวดล้อม
การฆ่าเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ปนเปื้อนบนไม้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรด้วยใช้กรดซิตริกและโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (งานวิจัยจาก กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์และการศึกษาโอ๊คริดจ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2011)
โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ที่ความเข้มข้น 2,000 ppm สามารถฆ่าเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASFV) ที่ปนเปื้อนบนไม้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของสารออกฤทธิ์ที่เลือกใช้ในฆ่าเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ( ASFV) (งานวิจัยจาก กรมโรคสุกร สถาบันวิจัยสัตวแพทย์แห่งชาติ ประเทศโปแลนด์, 2019)
โซเดียมไฮโปคลอไรต์เป็นหนึ่งในสารประกอบทางเคมีที่ถูกแนะนำให้ใช้ในการฆ่าเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASFV) โดยใช้ความเข้มข้นเพียงแค่เล็กน้อย (0.03% ถึง 0.0075%)
การฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์ตามพื้นผิวต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบรรจุเนื้อหมู (หน่วยงานการบริการวิจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา, 2015)
โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 600 ppm มีประสิทธิภาพสูงในการต้านไวรัสโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASFV) และเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร (CSFV) บนพื้นผิวเหล็กและพลาสติกในโรงงานบรรจุเนื้อหมู แต่หากเป็นการฆ่าเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย (FMDV) แนะนำให้ใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 1,000 ppm
แนวทางการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด-19 (กรมอนามัย ประเทศฟิลิปปินส์)
กรมอนามัย ประเทศฟิลิปปินส์ แนะนำให้ใช้น้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรต์ เป็นหนึ่งในแนวทางการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด-19 ให้กับสำนักงานภาครัฐและเอกชน บ้าน และบุคคล
ฆ่าเชื้อไข้หวัดนก
ประสิทธิภาพของกรดน้ำอิเล็กโทรไลต์ (AEW) ที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และไข้หวัดนก (แผนกรักษาสัตว์และยาชีวภาพ ด่านกักกันสัตว์และพืช ประเทศเกาหลี, 2021)
จากข้อมูลที่มี แนะนำให้ใช้กรดไฮโปคลอรัสฆ่าเชื้ออหิวาต์ในสุกร (ASFV) เป็นประจำ ที่ความเข้มข้น 50-100 ppm และ ฆ่าเชื้อไข้หวัดนก ที่ความเข้มข้น 75-125 ppm